การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล
การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่กําหนด สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากลจัดทําหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ทั้งในรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งกระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ได้แก่
- การตั้งประเด็นคําถาม / สมมุติฐาน
- การสืบค้นความรู้จากแหล่งการเรียนรู้และสารสนเทศ
- การสรุปองค์ความรู้
- การสื่อสารและการนําเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริการสังคมและจิตสาธารณะ
กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล
การจัดการเรียนรู้ IS (Independent Study) ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษาสามารถจัดได้ 2 ลักษณะ คือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะตาม IS1 ผู้เรียนเลือกประเด็นที่สนใจในการเรียนรู้ เพื่อกําหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ และ 2) รายวิชาการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากรายวิชา IS1 ผู้เรียนนําสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มาเขียนรายงาน หรือเอกสารทางวิชาการ และนําเสนอเพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยจัดทําเป็นผลงานการเขียนทางวิชาการ 1 ชิ้น และการสื่อสารนําเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นภาษาไทย 2,500 คํา มัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาษาไทย 4,000 คํา หรือภาษาอังกฤษ 2,000 คํา และจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์โดยจัดกิจกรรมการนําองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity: IS3) ซึ่งเป็นการนําสิ่งที่เรียนรู้จากรายวิชาเพิ่มเติมทั้ง 2 รายวิชาข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการทําประโยชน์ต่อสังคม ดังตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ ต่อไปนี้
1. รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1)
รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) ประกอบด้วยสาระการค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้พิสูจน์ประเด็นความรู้ ข้อค้นพบหรือสมมติฐานของความรู้ที่ได้รับรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของความรู้ รวมทั้งจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการรับรู้ในลักษณะที่เป็นวัฒนธรรมของการรับรู้และการรับรู้ที่ใช้ความรู้สึก และปลูกฝังการสร้างความเข้าใจที่เป็นสากลให้แก่ผู้เรียนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานและหาคําตอบเกี่ ยวกับสิ่ งที่ รู้ ตั้งคําถาม
ให้คําอธิบายแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ รู้จักหาทางออกในการแก้ปัญหาได้อย่างกระจ่างชัด เชื่อมโยงความรู้ เปรียบเทียบวิธีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาต่าง ๆ และวิธีการรับความรู้ (Ways of Knowing) 4 วิธี ได้แก่
- 1) วิธีการสร้างความรู้จากการสัมผัสรับรู้
- 2) วิธีการสร้างความรู้จากการใช้ภาษา
- 3) วิธีการสร้างความรู้จากการให้เหตุผล และ
- 4) วิธีการการสร้างความรู้จากสิ่งที่เป็นอารมณ์
1. ครูผู้สอนร่วมกับผู้เรียนในการกําหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global Issues สําหรับการศึกษาค้นคว้า เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนรู้บทเรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ เช่น
- การเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนซักถาม หรือตั้งคําถาม
- การฉายภาพนิ่งให้ผู้เรียนชมและติดตาม
- การชวนสนทนา เพื่อใหผู้รียนตั้งประเด็นที่ต้องการรู้
- การกระตุ้นความสนใจด้วยเกม เพลง ภาพ ฯลฯ
- การอ่าน / ฟังข่าวจากหนังสือพิมพ์
- การตั้งประเด็นอภิปราย / คําถามสร้างพลังความคิด
- การยกตัวอย่างประโยค คําพังเพย บทกวี
- การกําหนด หรือการตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global Issues
- การอภิปรายกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การระดมพลังความคิด
- การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
3.1 ทําความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนดําเนินกิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
- สัมภาษณ์ผู้รู้
- ปฏิบัติการค้นหา (ทดลอง สืบเสาะ สังเกต สํารวจ)
- ร่วมมือเพื่อเขียนคําอธิบาย
- แบ่งงานความรับผิดชอบภายในกลุ่ม
ระหว่างกันมากําหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- เขียนด้วยแผนผังความคิด
- เขียนโครงงาน / โครงการ
- เขียนบรรยาย / เขียนรายงาน
- นําเสนอแนวคิดใหม่
- นําเสนอรูปแบบนวัตกรรมใหม่
- อภิปราย
- ทดสอบผลงาน
- ทดสอบความคิดของกลุ่ม
- ทดสอบความรู้
3.4 นําความคิดไปใช้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนใช้แนวคิด หรือความรู้ความเข้าใจที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ประมวลองค์ความรู้เพื่อการนําไปใช้ประโยชน์ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- สรุปแผนผังความคิดเกี่ยวกับความรู้ใหม่
- นําเสนอโครงงาน / โครงการที่ผู้เรียนคิดค้น / ประดิษฐ์ขึ้น
- บรรยายสรุปแนวคิดใหม่ / การสร้างสถานการณ์ใหม่
- จัดนิทรรศการ / สาธิตผลงานของกลุ่ม
- แสดงบทบาทสมมติ / โต้วาทีเพื่อสรุปการแก้ปัญหา
4.1 ประเมินผลงาน
4.2 เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงและพัฒนา
4.3 วางแผนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของผู้สอน
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต เพื่อให้สามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน
2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน แนะนํา ถามให้คิด เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบ หรือสร้างความรู้ ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
3. สร้างแรงจูงใจใฝ่ รู้ใฝ่ เรียน ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อไป ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการทํางานเป็นกลุ่ม
4. เป็นผู้ชี้แนะไม่ใช่ผู้ชี้นํา กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดมากกว่าบอกความรู้
5. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิด
บทบาทของผู้เรียน
1. ค้นคว้า แสวงหาความรู้ ฝึกฝนวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเจ้าของบทเรียน ลงมือปฏิบัติจริง
2. กระตือรือร้นในการเรียนรู้ กล้าแสดงออก กล้านําเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์
3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและกับครูผู้สอน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี
4. ทํางานร่วมกันเป็นกลุ่ม
5. เชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ มีผลงานที่สร้างสรรค์
6. เคารพกติกาทางสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวม
7. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รักการอ่าน กล้าซักถาม
8. บันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ นําความรู้สู่การปฏิบัติได้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น