วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 5.4 วิธีดำเนินการศึกษา

วิธีดำเนินการศึกษา

หัวข้อสำคัญของวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไป มีดังนี้
   1. ประชากรที่ทาการศึกษา คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของซึ่งเป็นกลุ่มประชากร ที่ทำการศึกษาว่าเป็นประชากรกลุ่มใด อยู่ที่ไหน มีจำนวนเท่าใด หรือประมาณเท่าใด (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 180) ตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนด
  2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กล่าวถึงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกระบวนการคัดเลือกจำนวนที่จำกัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อนามาหาผลทางสถิติ ผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นผลแทนเรื่องนั้นทั้งหมด (ชนินทร์ชัย อินทิรานนท์ และสุวิทย์ หิรัณยกานนท์. 2548 : 229) เพื่อเป็นตัวแทน ของประชากร อาจแจงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างให้ขัดเจน เช่น จำแนกตามเพศ ระดับชั้น โรงเรียน เขตพื้นที่ จังหวัด เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระบุประเภทของเครื่องมือว่าเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อาจสร้างขึ้นเอง หรือยืมผู้อื่นมาใช้ก็ได้ สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้
    3.1 ลักษณะของเครื่องมือเป็นประเภทใด
    3.2 เนื้อหาสาระ จำนวนข้อ
    3.3 ส่วนประกอบ คำชี้แจง ข้อมูลทั่วไป ข้อคำถาม
    3.4 วิธีใช้ การเขียนตอบ การพูดอธิบายตอบ ยกตัวอย่าง
    3.5 กระบวนการสร้าง วิธีสร้าง ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูล กล่าวถึงช่วงเวลาในการทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต กลุ่มตัวอย่าง การตรวจให้คะแนน อธิบายขั้นตอนในการดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
  5. การวิเคราะห์ข้อมูล กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
     5.1 การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต รวบรวม ประเมินผล ตรวจสอบ และพิจารณาสรุปอย่างมีเหตุผล
    5.2 การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริง ในปัจจุบัน โดยการสำรวจ หาความสัมพันธ์ หรือศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น
     5.3 การศึกษาเชิงทดลอง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อทดลองแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
     5.4 การศึกษาเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เช่น ความคิด ความรู้สึก ค่านิยม เป็นต้น

ใบความรู้ 5.3 เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล


    การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ สะดวก ประหยัด (อนันต์ ศรีโสภา. 2539 : 546) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วนำมาพิจารณาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสรุปผลได้ตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า เครื่องมือ ที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 53-80)
    1. แบบทดสอบ คือ ชุดของคำถาม หรืองานที่สร้างขึ้นเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างตอบ อาจอยู่ในรูปของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็นปริมาณได้
   2. แบบสอบถาม คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยมใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถาม นิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล
   3. การสังเกตการณ์ คือ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลอย่างหนึ่ง ที่ผู้สังเกตการณ์ใช้สายตาเฝ้าดู หรือศึกษาเหตุการณ์ เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ โดยใช้แบบบันทึกผลการสังเกต ควรมีหลักในการสังเกตการณ์ดังนี้
      3.1 มีเป้าหมายที่ชัดเจน และตั้งใจตลอดเวลาในการสังเกต
      3.2 ศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเวลาในการสังเกตให้แน่นอน
     3.3 วางตัวเป็นกลาง และบันทึกผลการสังเกตให้ได้ข้อมูลครบถ้วนที่สุด
4. การสัมภาษณ์ คือ การที่ผู้สัมภาษณ์ ไปค้นหาข้อมูลโดยการสอบถามผู้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ ความคิดเห็น เพื่อความสะดวก รวดเร็วอาจใช้แบบสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่สร้างขึ้น ถามแล้วจดบันทึกคำตอบลงในแบบสัมภาษณ์ ควรมีหลักการสัมภาษณ์ดังนี้
    4.1 การเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์ ทบทวนจุดประสงค์การศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน นัดเวลา สถานที่กับกลุ่มตัวอย่างที่จะไปสัมภาษณ์ และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการสัมภาษณ์
    4.2 การเริ่มต้น ผู้สัมภาษณ์ควรแนะนำตนเอง แจ้งจุดประสงค์ของการสัมภาษณ์ สร้างความคุ้นเคยด้วยการสนทนาเรื่องที่คาดว่าผู้ให้สัมภาษณ์สนใจ โดยใช้เวลาเล็กน้อย
   4.3 การดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ต้องสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย สัมภาษณ์ทีละคำถาม บันทึกคำตอบอย่างรวดเร็ว และกล่าวขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีแบบทดสอบ เป็นชุดของคาถาม หรืองานที่สร้างขึ้นให้กลุ่มตัวอย่างตอบ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทความคิด และข้อเท็จจริง กรณีใช้การสังเกตต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ส่วนการสัมภาษณ์ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปสัมภาษณ์ และขณะดำเนินการสัมภาษณ์

ใบความรู้ 5.2 แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน

แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน

      การศึกษาค้นคว้าบางกรณีจาเป็นต้องใช้ข้อมูลภาพประกอบ บางกรณีจำเป็นต้องใช้ข้อมูลตาราง รายการดังกล่าวอาจจะมี หรือไม่มีในรายงานก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาที่ผู้ทารายงานกำหนด ภาพประกอบ คือ ภาพที่วาดขึ้น หรือนำมาแสดงเพื่อประกอบเรื่อง ตาราง คือ ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวตั้ง กับแนวนอนตัดกัน มีข้อมูลประกอบด้วยข้อความ ตัวเลขประกอบเรื่องในรายงาน      เมื่อมีภาพประกอบ ตารางในรายงานควรมีชื่อภาพ ชื่อตาราง และอ้างอิงแหล่งที่มา ของข้อมูล โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาตามประเภทของสื่อ ดังตัวอย่าง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2549 : 103-111)
     1. สื่อสิ่งพิมพ์ ที่มา : ชื่อผู้แต่ง. ปีพิมพ์ : เลขหน้า.
     2. สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : ชื่อผู้แต่ง. ประเภทของสื่อ. ปีที่ผลิต.




ใบความรู้ 5.1 การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 173) ซึ่งการตรวจสอบแหล่งที่มา ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจะมีความน่าเชื่อถือได้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ ที่นิยมใช้ มี 3 ด้าน คือ ข้อมูล ผู้ศึกษา และทฤษฎี
1. การตรวจสอบข้อมูล คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มานั้นถูกต้อง หรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนั้น จะต้องตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล
   1.1 การตรวจสอบเวลา หมายถึง การตรวจสอบว่าในช่วงเวลาต่างกัน ผลการศึกษาในเรื่องเดียวกัน เหมือนกัน หรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย
   1.2 การตรวจสอบสถานที่ หมายถึง การตรวจสอบในสถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน หากมาจากสถานที่เดียวกัน มีผลออกมาเหมือนกัน ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อื่นด้วย
   1.3 การตรวจสอบบุคคล หมายถึง ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปเป็นคนอื่น ข้อมูล จะเหมือนเดิม หรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบจากบุคคลหลายคน
   2. การตรวจสอบผู้ศึกษา คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาแต่ละคน จะได้ข้อมูลต่างกันอย่างไร โดยการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกันจากผู้ศึกษาหลายคน ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
   3. การตรวจสอบทฤษฎี คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาสามารถใช้แนวคิดทฤษฎีที่ต่าง ไปจากเดิม ตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทาได้โดยการตรวจสอบเรื่องเดียวกัน จาก 2 แหล่ง หรือ 2 เล่ม ขึ้นไป การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามจุดมุ่งหมาย มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 53)

   การตรวจสอบวิธีรวบรวมข้อมูล คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเก่า เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน โดยใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถาม พร้อมกันก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเอกสาร หรือทำการซักถามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

ใบความรู้ 4.3 มาตราส่วนประมาณค่า

มาตราส่วนประมาณค่า 

มาตรา การวัดชนิดหนึ่ง ที่ใช้สร้างเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทแบบสอบถาม
คือ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีลักษณะดังนี้
      1. มีระดับความเข้มข้นให้ผู้ตอบเลือกตอบตามความคิดเห็น เหตุผล สภาพจริง ที่นิยมใช้
มี 3-5 ระดับ เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เป็นต้น
      2. ระดับที่ให้เลือกอาจมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบ หรือมีทั้งด้านบวก และ
ด้านลบในชุดเดียวกัน ดังตัวอย่าง เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
      ตัวอย่างด้านบวก นักเรียนศึกษาค้นคว้าวิชา IS1 เพิ่มเติมจากที่เรียนในชั้นเรียน
      บ่อยมาก     บ่อย     บางครั้ง    น้อย   ไม่เคย

      ตัวอย่างด้านลบ การเรียนโดยใช้บทเรียนสาเร็จรูปทำให้นักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อน
      มากที่สุด    มาก    ปานกลาง   น้อย  น้อยที่สุด

        ตัวอย่างด้านบวก และด้านลบในข้อเดียวกัน วิชาสังคมศึกษาให้ประโยชน์น้อย
        เห็นด้วยอย่างยิ่ง    เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

      3. ข้อคำถามบางข้อมีลักษณะเชิงนิมาน หรือด้านบวก (Positive Scale) บางข้อมี
ลักษณะเชิงนิเสธ หรือด้านลบ (Negative Scale) อยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกัน ดังตัวอย่างในข้อ 2
     4. สามารถแปลผลเป็นคะแนนได้ จึงสามารถวัดความคิดเห็น คุณลักษณะด้านจิตพิสัย
เป็นคะแนน นิยมทำเป็นช่องเพื่อสะดวกในการตอบ ดังตัวอย่าง








วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 4.2 แบบสอบถาม

แบบสอบถาม เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม นิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล

แบบสอบถามมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำชี้แจงในการตอบ แจ้งจุดมุ่งหมาย อธิบายลักษณะ และตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 สถานภาพผู้ตอบ เช่น เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ เป็นต้น
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า

เป็นแบบปลายปิด คือ มีคำตอบให้เลือกตอบ
ปลายเปิด คือ ให้ผู้ตอบเขียนอธิบายคำตอบด้วยตนเอง
หรือแบบปลายปิด และปลายเปิดอยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกันก็ได้ เนื้อหาคำถาม
เช่น ข้อเท็จจริง ความต้องการ เหตุผล ความคิดเห็น เป็นต้น

หลักการสร้างแบบสอบถาม
ตั้งคำถามให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
เรียงคำถามตามลำดับหัวข้อที่ศึกษาค้นคว้า
คำถามชัดเจน กะทัดรัด เหมาะสมกับผู้ตอบ
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำได้ด้วยตนเอง สัมภาษณ์ และส่งทางไปรษณีย์
ความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม
1. คำถามต้องครอบคลุมประเด็นทั้งหมดของการศึกษาค้นคว้า
2. คำตอบของกลุ่มตัวอย่าง ต้องมีมากพอที่จะเป็นตัวแทนของผู้ถูกสอบถาม ผู้ตอบตอบทุกคำถาม ผู้ตอบกรอกข้อมูลส่วนตัวครบถ้วน

ใบความรู้ 4.1 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่ทำการศึกษา 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่เป็นตัวแทน ของประชากรที่ทำการศึกษา 

ผู้ศึกษาค้นคว้าบางครั้งไม่สามารถทำการศึกษากับประชากรได้ เพราะมีจำนวนมาก หรือ มีสภาพยากแก่การเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้สถิติอ้างอิงถึงประชากร 

มีประโยชน์ คือ ประหยัด ควบคุมความถูกต้องได้ง่าย และใช้กับข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถศึกษาจากประชากรได้ เช่น เลือดทุกหยดในตัวคนไข้ นักเรียน ม. 4 ทุกคนในประเทศไทย เป็นต้น 

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
ผู้ศึกษาต้องกำหนดประชากรให้ชัดว่า คืออะไร มีขอบเขต และคุณลักษณะอย่างไร 
กำหนดข้อมูลที่จะรวบรวมตามจุดมุ่งหมายที่ศึกษา 
กำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดจำนวน และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง 

การกำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง 
1. ประชากรมีลักษณะคล้ายกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างน้อย ถ้าประชากรมีลักษณะต่างกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างมาก 
2. การทดลอง การสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการส่งแบบสอบถามให้ตอบ 

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
1. ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม ประชากรมีโอกาสถูกเลือก ไม่เท่ากัน ผู้ศึกษาเลือกแบบบังเอิญ แบบเจาะจงตามความสะดวกของผู้ศึกษา 
2. อาศัยความน่าจะเป็น โดยการสุ่ม ประชากรทุกส่วนมีโอกาสถูกเลือกเท่ากัน เช่น การจับฉลาก เป็นต้น