ใบความรู้ที่ 2.1
การตั้งสมมุติฐาน
การตั้งสมมุติฐาน คือ ข้อคิดเห็น หรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย
เรียกว่า สมมุติฐาน (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 1127) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยการเริ่มต้นจากการตั้งประเด็นปัญหา
จากนั้นจะศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อคาดคะเนคาตอบของปัญหานั้นสมมุติฐาน ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า เป็นคำตอบสรุปของผลการศึกษาที่ผู้ศึกษาค้นคว้าคาดคะเน
หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล คำตอบดังกล่าวได้มาจากการไตร่ตรองโดยใช้เหตุผลที่น่าจะเป็นให้มากที่สุด
โดยมีรากฐานของทฤษฏี ผลการศึกษาค้นคว้า หรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
(บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 34) ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้ามั่นใจว่าผลการศึกษาค้นคว้าจะตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
แต่ผลการศึกษาค้นคว้าจริงอาจจะตรง หรือไม่ตรงกับสมมุติฐานก็ได้ สิ่งสำคัญ คือ ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องอธิบายได้ว่าผลการศึกษาค้นคว้าเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด
สมมุติฐานแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้ (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกุล.
2551 : 38)
1. สมมุติฐานทางสถิติ กำหนดขึ้นก่อนการทดลอง
เป็นสมมุติฐานที่กำหนดเมื่อไม่รู้ว่า “มี” ให้กำหนดในเบื้องต้นว่า “ไม่มี” เช่น ไม่มีความแตกต่าง ไม่มีความสัมพันธ์ เป็นต้น
2. สมมุติฐานทางเลือก ในการศึกษาค้นคว้าให้ตั้งสมมุติฐานทางเลือกเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการสรุปผล
ถ้าหากผลการทดสอบทางสถิติชี้ว่า “ไม่จริง” แล้ว “ยอมรับ” เช่น มีความแตกต่าง
มีความสัมพันธ์ เป็นต้น
ประโยชน์ของสมมุติฐาน
1. ใช้ตรวจสอบผลการศึกษาค้นคว้าได้
2. จากัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าให้ดาเนินไปตามวัตถุประสงค์
3. ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่ศึกษาค้นคว้าได้ชัดเจน
รายการอ้างอิง
จรัญ จันทลักขณา
และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกุล. (2551). คัมภีร์การวิจัย และการเผยแพร่สู่นานาชาติ.
พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด.
(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่
7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน.
(2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2542. กรุงเทพฯ :
นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น