ใบความรู้ที่
๑.๑
การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า
สิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษาค้นคว้า คือ การเลือกเรื่องเพื่อตั้งประเด็นปัญหา
เพราะถ้าเลือกเรื่องเหมาะสมจะมีอุปสรรคน้อย ช่วยให้งานสำเร็จได้ด้วยดี การเลือกเรื่องตั้งประเด็นปัญหาจึงต้องทำอย่างละเอียด
รอบคอบ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1.
เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความสนใจอย่างแท้จริง และมีประโยชน์ต่อคนในสังคมโลก
เพราะต้องใช้ความพากเพียร อดทน ตั้งใจศึกษาค้นคว้าจึงจะสำเร็จได้
2.
ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความสามารถในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า สอดคล้องกับพื้นฐาน
ประสบการณ์ และต้องมั่นใจว่าตนมีศักยภาพในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนั้น
3.
เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีทุนเป็นค่าใช้จ่ายเพียงพอ ควรทำประมาณการค่าใช้จ่าย
เป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าเดินทางเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าพิมพ์รายงาน และอื่นๆ
4.
มีแหล่งการเรียนรู้สาหรับศึกษาค้นคว้าเพียงพอ อาจจะเป็นวัสดุสารสนเทศในห้องสมุด
ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ต สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง
5.
สามารถขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้า
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ผู้ช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
การนิยามปัญหา คือ การอธิบายปัญหาที่จะทาการศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน
ประกอบด้วยบทนำ หรือความเป็นมา จุดมุ่งหมาย สมมุติฐาน เป็นต้น
บทนำ หรือความเป็นมา เป็นการกล่าวถึงที่มาของปัญหาที่จะศึกษาค้นคว้า
แสดงให้เห็นว่าปัญหา คืออะไร เหตุใดจึงต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น อาจอ้างทฤษฎี กฎเกณฑ์
หรือข้อเขียนที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย
เขียนให้ครอบคลุมประเด็นปัญหา เขียนแยกเป็นรายข้อ หรือไม่แยกข้อก็ได
..
ตอบลบ