วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 2.2 หลักการเขียนสมมุติฐาน

ใบความรู้ที่ 2.2
หลักการเขียนสมมุติฐาน
สมมุติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
           1. จุดมุ่งหมาย สอดคล้องกับสมมุติฐาน และผลของการศึกษาค้นคว้า
           2. สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ
           3. ใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม
           4. สมเหตุสมผล โดยตั้งมาจากหลักของเหตุผล ตามทฤษฏี และผลการศึกษาค้นคว้า ที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา
หลักการเขียนสมมุติฐาน
           1. ใช้ข้อความที่เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
           2. เขียนสมมุติฐานหลังจากได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนแล้ว
           3. โดยทั่วไปจะตั้งสมมุติฐานก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่มีการศึกษาค้นคว้า บางประเภท เช่น การศึกษาค้นคว้าเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ อาจไม่จาเป็นต้องตั้งสมมุติฐานก่อน แต่อาจเริ่มจากการสังเกต รวบรวมข้อมูล แล้วตั้งสมมุติฐานจากข้อมูลที่ค้นพบก็ได้
           4. เขียนสมมุติฐานที่สามารถทดสอบได้จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมา
           5. กรณีมีหลายประเด็นควรแยกสมมุติฐานออกเป็นรายข้อ ซึ่งในการศึกษาค้นคว้าครั้งนั้นจะทำการทดสอบเป็นรายข้อ
ตัวอย่างสมมุติฐาน
           1. นักเรียนที่ดื่มนมจะเติบโตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ดื่มนม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 39)
           2. เกษตรกรที่รวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งทางสังคม และเศรษฐกิจ มากกว่าเกษตรกร ที่ไม่รวมกลุ่ม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 36)
           3. ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 37)

           4. หลังจากใช้โปรแกรมค่ายโรงเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ นักเรียนกลุ่มทดลองปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้สูงกว่าก่อนการทดลอง (วาสนา ฤทธิสิทธิ์. 2552 : 63)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น