วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 5.4 วิธีดำเนินการศึกษา

วิธีดำเนินการศึกษา

หัวข้อสำคัญของวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไป มีดังนี้
   1. ประชากรที่ทาการศึกษา คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของซึ่งเป็นกลุ่มประชากร ที่ทำการศึกษาว่าเป็นประชากรกลุ่มใด อยู่ที่ไหน มีจำนวนเท่าใด หรือประมาณเท่าใด (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 180) ตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนด
  2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กล่าวถึงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกระบวนการคัดเลือกจำนวนที่จำกัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อนามาหาผลทางสถิติ ผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นผลแทนเรื่องนั้นทั้งหมด (ชนินทร์ชัย อินทิรานนท์ และสุวิทย์ หิรัณยกานนท์. 2548 : 229) เพื่อเป็นตัวแทน ของประชากร อาจแจงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างให้ขัดเจน เช่น จำแนกตามเพศ ระดับชั้น โรงเรียน เขตพื้นที่ จังหวัด เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระบุประเภทของเครื่องมือว่าเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อาจสร้างขึ้นเอง หรือยืมผู้อื่นมาใช้ก็ได้ สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้
    3.1 ลักษณะของเครื่องมือเป็นประเภทใด
    3.2 เนื้อหาสาระ จำนวนข้อ
    3.3 ส่วนประกอบ คำชี้แจง ข้อมูลทั่วไป ข้อคำถาม
    3.4 วิธีใช้ การเขียนตอบ การพูดอธิบายตอบ ยกตัวอย่าง
    3.5 กระบวนการสร้าง วิธีสร้าง ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูล กล่าวถึงช่วงเวลาในการทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต กลุ่มตัวอย่าง การตรวจให้คะแนน อธิบายขั้นตอนในการดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
  5. การวิเคราะห์ข้อมูล กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
     5.1 การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต รวบรวม ประเมินผล ตรวจสอบ และพิจารณาสรุปอย่างมีเหตุผล
    5.2 การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริง ในปัจจุบัน โดยการสำรวจ หาความสัมพันธ์ หรือศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น
     5.3 การศึกษาเชิงทดลอง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อทดลองแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
     5.4 การศึกษาเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เช่น ความคิด ความรู้สึก ค่านิยม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น