วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 5.1 การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 173) ซึ่งการตรวจสอบแหล่งที่มา ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจะมีความน่าเชื่อถือได้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ ที่นิยมใช้ มี 3 ด้าน คือ ข้อมูล ผู้ศึกษา และทฤษฎี
1. การตรวจสอบข้อมูล คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มานั้นถูกต้อง หรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนั้น จะต้องตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล
   1.1 การตรวจสอบเวลา หมายถึง การตรวจสอบว่าในช่วงเวลาต่างกัน ผลการศึกษาในเรื่องเดียวกัน เหมือนกัน หรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย
   1.2 การตรวจสอบสถานที่ หมายถึง การตรวจสอบในสถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน หากมาจากสถานที่เดียวกัน มีผลออกมาเหมือนกัน ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อื่นด้วย
   1.3 การตรวจสอบบุคคล หมายถึง ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปเป็นคนอื่น ข้อมูล จะเหมือนเดิม หรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบจากบุคคลหลายคน
   2. การตรวจสอบผู้ศึกษา คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาแต่ละคน จะได้ข้อมูลต่างกันอย่างไร โดยการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกันจากผู้ศึกษาหลายคน ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
   3. การตรวจสอบทฤษฎี คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาสามารถใช้แนวคิดทฤษฎีที่ต่าง ไปจากเดิม ตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทาได้โดยการตรวจสอบเรื่องเดียวกัน จาก 2 แหล่ง หรือ 2 เล่ม ขึ้นไป การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามจุดมุ่งหมาย มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 53)

   การตรวจสอบวิธีรวบรวมข้อมูล คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเก่า เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน โดยใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถาม พร้อมกันก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเอกสาร หรือทำการซักถามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น