วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 3.3 นิยามศัพท์เฉพาะ



นิยามศัพท์เฉพาะ 

นิยาม คือ การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ในการศึกษาค้นคว้าจะมี ศัพท์เฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องให้นิยาม เพราะจะมีผู้อ่านบางคนไม่ทราบความหมายของศัพท์นั้นมาก่อน หรือทราบความหมายของศัพท์นั้น แต่อาจจะไม่ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากาหนดไว้ จึงต้อง มีการนิยามศัพท์เฉพาะ ซึ่งมี 2 ลักษณะดังนี้

1. การนิยามแบบทั่วไป เป็นการนิยามตามความหมายของคาศัพท์ปกติ อาจยกนิยามตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม สารานุกรม ตามตำราที่ผู้อื่นนิยามไว้ หรือตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยาม ด้วยตนเองในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นนิยามมาก่อน ทั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องมีความรอบรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่ครอบคลุม แจ่มชัด และรัดกุม ดังตัวอย่าง

ความคิด หมายถึง สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ สติปัญญาที่จะทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างถูกต้อง และสมควร (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 231)
สงกรานต์ หมายถึง วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง เรียกว่า วันสงกรานต์ แต่วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ ในสมัยโบราณถือเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่

2. การนิยามปฏิบัติการ ให้ความหมายของศัพท์นั้น และบอกให้ทราบว่าผู้ศึกษาค้นคว้า จะวัด ตรวจสอบ หรือสังเกตได้อย่างไร ดังตัวอย่าง องค์ความรู้ คือ knowledge ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความรู้ หรือข้อมูล หรือสาระวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีอยู่ วัดโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. 2551 : 2)
อำเภอ หมายถึง พื้นที่ปกครองตามกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ (อิสรา ตุงตระกูล. 2553 : 14)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น