วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 5.4 วิธีดำเนินการศึกษา

วิธีดำเนินการศึกษา

หัวข้อสำคัญของวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไป มีดังนี้
   1. ประชากรที่ทาการศึกษา คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของซึ่งเป็นกลุ่มประชากร ที่ทำการศึกษาว่าเป็นประชากรกลุ่มใด อยู่ที่ไหน มีจำนวนเท่าใด หรือประมาณเท่าใด (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 180) ตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนด
  2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กล่าวถึงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกระบวนการคัดเลือกจำนวนที่จำกัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อนามาหาผลทางสถิติ ผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นผลแทนเรื่องนั้นทั้งหมด (ชนินทร์ชัย อินทิรานนท์ และสุวิทย์ หิรัณยกานนท์. 2548 : 229) เพื่อเป็นตัวแทน ของประชากร อาจแจงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างให้ขัดเจน เช่น จำแนกตามเพศ ระดับชั้น โรงเรียน เขตพื้นที่ จังหวัด เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระบุประเภทของเครื่องมือว่าเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อาจสร้างขึ้นเอง หรือยืมผู้อื่นมาใช้ก็ได้ สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้
    3.1 ลักษณะของเครื่องมือเป็นประเภทใด
    3.2 เนื้อหาสาระ จำนวนข้อ
    3.3 ส่วนประกอบ คำชี้แจง ข้อมูลทั่วไป ข้อคำถาม
    3.4 วิธีใช้ การเขียนตอบ การพูดอธิบายตอบ ยกตัวอย่าง
    3.5 กระบวนการสร้าง วิธีสร้าง ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูล กล่าวถึงช่วงเวลาในการทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต กลุ่มตัวอย่าง การตรวจให้คะแนน อธิบายขั้นตอนในการดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
  5. การวิเคราะห์ข้อมูล กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
     5.1 การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต รวบรวม ประเมินผล ตรวจสอบ และพิจารณาสรุปอย่างมีเหตุผล
    5.2 การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริง ในปัจจุบัน โดยการสำรวจ หาความสัมพันธ์ หรือศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น
     5.3 การศึกษาเชิงทดลอง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อทดลองแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
     5.4 การศึกษาเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เช่น ความคิด ความรู้สึก ค่านิยม เป็นต้น

ใบความรู้ 5.3 เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล


    การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ สะดวก ประหยัด (อนันต์ ศรีโสภา. 2539 : 546) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วนำมาพิจารณาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสรุปผลได้ตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า เครื่องมือ ที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 53-80)
    1. แบบทดสอบ คือ ชุดของคำถาม หรืองานที่สร้างขึ้นเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างตอบ อาจอยู่ในรูปของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็นปริมาณได้
   2. แบบสอบถาม คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยมใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถาม นิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล
   3. การสังเกตการณ์ คือ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลอย่างหนึ่ง ที่ผู้สังเกตการณ์ใช้สายตาเฝ้าดู หรือศึกษาเหตุการณ์ เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ โดยใช้แบบบันทึกผลการสังเกต ควรมีหลักในการสังเกตการณ์ดังนี้
      3.1 มีเป้าหมายที่ชัดเจน และตั้งใจตลอดเวลาในการสังเกต
      3.2 ศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเวลาในการสังเกตให้แน่นอน
     3.3 วางตัวเป็นกลาง และบันทึกผลการสังเกตให้ได้ข้อมูลครบถ้วนที่สุด
4. การสัมภาษณ์ คือ การที่ผู้สัมภาษณ์ ไปค้นหาข้อมูลโดยการสอบถามผู้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ ความคิดเห็น เพื่อความสะดวก รวดเร็วอาจใช้แบบสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่สร้างขึ้น ถามแล้วจดบันทึกคำตอบลงในแบบสัมภาษณ์ ควรมีหลักการสัมภาษณ์ดังนี้
    4.1 การเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์ ทบทวนจุดประสงค์การศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน นัดเวลา สถานที่กับกลุ่มตัวอย่างที่จะไปสัมภาษณ์ และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการสัมภาษณ์
    4.2 การเริ่มต้น ผู้สัมภาษณ์ควรแนะนำตนเอง แจ้งจุดประสงค์ของการสัมภาษณ์ สร้างความคุ้นเคยด้วยการสนทนาเรื่องที่คาดว่าผู้ให้สัมภาษณ์สนใจ โดยใช้เวลาเล็กน้อย
   4.3 การดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ต้องสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย สัมภาษณ์ทีละคำถาม บันทึกคำตอบอย่างรวดเร็ว และกล่าวขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีแบบทดสอบ เป็นชุดของคาถาม หรืองานที่สร้างขึ้นให้กลุ่มตัวอย่างตอบ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทความคิด และข้อเท็จจริง กรณีใช้การสังเกตต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ส่วนการสัมภาษณ์ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปสัมภาษณ์ และขณะดำเนินการสัมภาษณ์

ใบความรู้ 5.2 แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน

แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน

      การศึกษาค้นคว้าบางกรณีจาเป็นต้องใช้ข้อมูลภาพประกอบ บางกรณีจำเป็นต้องใช้ข้อมูลตาราง รายการดังกล่าวอาจจะมี หรือไม่มีในรายงานก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาที่ผู้ทารายงานกำหนด ภาพประกอบ คือ ภาพที่วาดขึ้น หรือนำมาแสดงเพื่อประกอบเรื่อง ตาราง คือ ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวตั้ง กับแนวนอนตัดกัน มีข้อมูลประกอบด้วยข้อความ ตัวเลขประกอบเรื่องในรายงาน      เมื่อมีภาพประกอบ ตารางในรายงานควรมีชื่อภาพ ชื่อตาราง และอ้างอิงแหล่งที่มา ของข้อมูล โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาตามประเภทของสื่อ ดังตัวอย่าง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2549 : 103-111)
     1. สื่อสิ่งพิมพ์ ที่มา : ชื่อผู้แต่ง. ปีพิมพ์ : เลขหน้า.
     2. สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : ชื่อผู้แต่ง. ประเภทของสื่อ. ปีที่ผลิต.




ใบความรู้ 5.1 การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 173) ซึ่งการตรวจสอบแหล่งที่มา ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจะมีความน่าเชื่อถือได้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ ที่นิยมใช้ มี 3 ด้าน คือ ข้อมูล ผู้ศึกษา และทฤษฎี
1. การตรวจสอบข้อมูล คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มานั้นถูกต้อง หรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนั้น จะต้องตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล
   1.1 การตรวจสอบเวลา หมายถึง การตรวจสอบว่าในช่วงเวลาต่างกัน ผลการศึกษาในเรื่องเดียวกัน เหมือนกัน หรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย
   1.2 การตรวจสอบสถานที่ หมายถึง การตรวจสอบในสถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน หากมาจากสถานที่เดียวกัน มีผลออกมาเหมือนกัน ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อื่นด้วย
   1.3 การตรวจสอบบุคคล หมายถึง ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปเป็นคนอื่น ข้อมูล จะเหมือนเดิม หรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบจากบุคคลหลายคน
   2. การตรวจสอบผู้ศึกษา คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาแต่ละคน จะได้ข้อมูลต่างกันอย่างไร โดยการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกันจากผู้ศึกษาหลายคน ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
   3. การตรวจสอบทฤษฎี คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาสามารถใช้แนวคิดทฤษฎีที่ต่าง ไปจากเดิม ตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทาได้โดยการตรวจสอบเรื่องเดียวกัน จาก 2 แหล่ง หรือ 2 เล่ม ขึ้นไป การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามจุดมุ่งหมาย มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 53)

   การตรวจสอบวิธีรวบรวมข้อมูล คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเก่า เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน โดยใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถาม พร้อมกันก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเอกสาร หรือทำการซักถามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

ใบความรู้ 4.3 มาตราส่วนประมาณค่า

มาตราส่วนประมาณค่า 

มาตรา การวัดชนิดหนึ่ง ที่ใช้สร้างเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทแบบสอบถาม
คือ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีลักษณะดังนี้
      1. มีระดับความเข้มข้นให้ผู้ตอบเลือกตอบตามความคิดเห็น เหตุผล สภาพจริง ที่นิยมใช้
มี 3-5 ระดับ เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เป็นต้น
      2. ระดับที่ให้เลือกอาจมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบ หรือมีทั้งด้านบวก และ
ด้านลบในชุดเดียวกัน ดังตัวอย่าง เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
      ตัวอย่างด้านบวก นักเรียนศึกษาค้นคว้าวิชา IS1 เพิ่มเติมจากที่เรียนในชั้นเรียน
      บ่อยมาก     บ่อย     บางครั้ง    น้อย   ไม่เคย

      ตัวอย่างด้านลบ การเรียนโดยใช้บทเรียนสาเร็จรูปทำให้นักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อน
      มากที่สุด    มาก    ปานกลาง   น้อย  น้อยที่สุด

        ตัวอย่างด้านบวก และด้านลบในข้อเดียวกัน วิชาสังคมศึกษาให้ประโยชน์น้อย
        เห็นด้วยอย่างยิ่ง    เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

      3. ข้อคำถามบางข้อมีลักษณะเชิงนิมาน หรือด้านบวก (Positive Scale) บางข้อมี
ลักษณะเชิงนิเสธ หรือด้านลบ (Negative Scale) อยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกัน ดังตัวอย่างในข้อ 2
     4. สามารถแปลผลเป็นคะแนนได้ จึงสามารถวัดความคิดเห็น คุณลักษณะด้านจิตพิสัย
เป็นคะแนน นิยมทำเป็นช่องเพื่อสะดวกในการตอบ ดังตัวอย่าง








วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 4.2 แบบสอบถาม

แบบสอบถาม เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม นิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล

แบบสอบถามมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำชี้แจงในการตอบ แจ้งจุดมุ่งหมาย อธิบายลักษณะ และตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 สถานภาพผู้ตอบ เช่น เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ เป็นต้น
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า

เป็นแบบปลายปิด คือ มีคำตอบให้เลือกตอบ
ปลายเปิด คือ ให้ผู้ตอบเขียนอธิบายคำตอบด้วยตนเอง
หรือแบบปลายปิด และปลายเปิดอยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกันก็ได้ เนื้อหาคำถาม
เช่น ข้อเท็จจริง ความต้องการ เหตุผล ความคิดเห็น เป็นต้น

หลักการสร้างแบบสอบถาม
ตั้งคำถามให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
เรียงคำถามตามลำดับหัวข้อที่ศึกษาค้นคว้า
คำถามชัดเจน กะทัดรัด เหมาะสมกับผู้ตอบ
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำได้ด้วยตนเอง สัมภาษณ์ และส่งทางไปรษณีย์
ความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม
1. คำถามต้องครอบคลุมประเด็นทั้งหมดของการศึกษาค้นคว้า
2. คำตอบของกลุ่มตัวอย่าง ต้องมีมากพอที่จะเป็นตัวแทนของผู้ถูกสอบถาม ผู้ตอบตอบทุกคำถาม ผู้ตอบกรอกข้อมูลส่วนตัวครบถ้วน

ใบความรู้ 4.1 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่ทำการศึกษา 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่เป็นตัวแทน ของประชากรที่ทำการศึกษา 

ผู้ศึกษาค้นคว้าบางครั้งไม่สามารถทำการศึกษากับประชากรได้ เพราะมีจำนวนมาก หรือ มีสภาพยากแก่การเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้สถิติอ้างอิงถึงประชากร 

มีประโยชน์ คือ ประหยัด ควบคุมความถูกต้องได้ง่าย และใช้กับข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถศึกษาจากประชากรได้ เช่น เลือดทุกหยดในตัวคนไข้ นักเรียน ม. 4 ทุกคนในประเทศไทย เป็นต้น 

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
ผู้ศึกษาต้องกำหนดประชากรให้ชัดว่า คืออะไร มีขอบเขต และคุณลักษณะอย่างไร 
กำหนดข้อมูลที่จะรวบรวมตามจุดมุ่งหมายที่ศึกษา 
กำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดจำนวน และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง 

การกำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง 
1. ประชากรมีลักษณะคล้ายกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างน้อย ถ้าประชากรมีลักษณะต่างกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างมาก 
2. การทดลอง การสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการส่งแบบสอบถามให้ตอบ 

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
1. ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม ประชากรมีโอกาสถูกเลือก ไม่เท่ากัน ผู้ศึกษาเลือกแบบบังเอิญ แบบเจาะจงตามความสะดวกของผู้ศึกษา 
2. อาศัยความน่าจะเป็น โดยการสุ่ม ประชากรทุกส่วนมีโอกาสถูกเลือกเท่ากัน เช่น การจับฉลาก เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบความรู้ 3.3 นิยามศัพท์เฉพาะ



นิยามศัพท์เฉพาะ 

นิยาม คือ การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ในการศึกษาค้นคว้าจะมี ศัพท์เฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องให้นิยาม เพราะจะมีผู้อ่านบางคนไม่ทราบความหมายของศัพท์นั้นมาก่อน หรือทราบความหมายของศัพท์นั้น แต่อาจจะไม่ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากาหนดไว้ จึงต้อง มีการนิยามศัพท์เฉพาะ ซึ่งมี 2 ลักษณะดังนี้

1. การนิยามแบบทั่วไป เป็นการนิยามตามความหมายของคาศัพท์ปกติ อาจยกนิยามตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม สารานุกรม ตามตำราที่ผู้อื่นนิยามไว้ หรือตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยาม ด้วยตนเองในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นนิยามมาก่อน ทั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องมีความรอบรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่ครอบคลุม แจ่มชัด และรัดกุม ดังตัวอย่าง

ความคิด หมายถึง สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ สติปัญญาที่จะทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างถูกต้อง และสมควร (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 231)
สงกรานต์ หมายถึง วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง เรียกว่า วันสงกรานต์ แต่วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ ในสมัยโบราณถือเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่

2. การนิยามปฏิบัติการ ให้ความหมายของศัพท์นั้น และบอกให้ทราบว่าผู้ศึกษาค้นคว้า จะวัด ตรวจสอบ หรือสังเกตได้อย่างไร ดังตัวอย่าง องค์ความรู้ คือ knowledge ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความรู้ หรือข้อมูล หรือสาระวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีอยู่ วัดโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. 2551 : 2)
อำเภอ หมายถึง พื้นที่ปกครองตามกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ (อิสรา ตุงตระกูล. 2553 : 14)

ใบความรู้ 3.2 การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา



การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา วิธีการอ่านควรมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการอ่าน การศึกษาค้นคว้าโดยการอ่านแบบสารวจ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเลือกเรื่อง และรวบรวมบรรณานุกรม เมื่อเลือกเรื่องได้แล้วควรใช้การอ่านเพื่อเก็บประเด็นสาคัญ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการอ่านเพื่อเตรียมสอบ นิยมใช้หลัก SQ3’R คือ สารวจ ตั้งคาถาม ค้นหาคาตอบ บันทึก และทบทวน ดังนี้ (วิโรจน์ ถิรคุณ. 2543 : 167)
1. S (Survey) คือ การสารวจส่วนประกอบของเรื่องที่อ่าน
2. Q (Question) คือ การตั้งคาถามเรื่องที่ต้องการรู้
3. R 1 (Read) การค้นหาคาตอบจากเรื่องที่อ่าน
4. R 2 (Recall) การจดบันทึกใจความสาคัญจากเรื่องที่อ่าน
5. R 3 (Review) การอ่านทบทวนเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจภาพรวม ของเรื่อง

เมื่ออ่านพบเรื่องที่ตรงกับประเด็นสำคัญของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าแล้ว ควรบันทึกในบัตรบันทึกข้อมูล หรือสมุดบันทึกการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า หากมีการคัดลอก อ้างข้อความ หรือแนวคิดของผู้อื่นมาลงไว้ในบันทึก หรือผลงานของตนต้องมีการอ้างอิง (Citation) คือ การแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแนวคิดที่นามาใช้ในการเขียนรายงาน โดยการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา และการเขียนบรรณานุกรม

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ที่นิยมใช้มาก คือ ระบบนาม-ปี (Author date) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้าที่อ้างอิง ถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล หรือชื่อท้าย

รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากหนังสือ คือ (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2549 : 103)

(ชื่อผู้แต่ง.//ปีพิมพ์/:/เลขหน้าที่อ้างอิง)

ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อสิ่งพิมพ์
“...หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อใกล้ตัวที่มีเนื้อหาสาระหลายด้าน ทั้งข่าว บทความ สารคดี สาระบันเทิงด้านภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ยังเพิ่มเติมเนื้อหาบทละครโทรทัศน์ เพื่อจูงใจผู้ชมละครที่ต้องการรู้เรื่องล่วงหน้า (ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคนอื่น ๆ. 2552 : 38)...”

การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ มีรูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเหมือนกัน ส่วนการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อโสตทัศน์ และอินเทอร์เน็ต มีรูปแบบ คือ
(ชื่อผู้แต่ง.//ประเภทของสื่อ.//ปีที่เผยแพร่) คำบอกประเภทของสื่อโสตทัศน์ เช่น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ ภาพยนตร์ เป็นต้น จากซีดีรอมใช้คาว่า ซีดีรอม จากอินเทอร์เน็ตใช้คาว่า ออนไลน์

เมื่อมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาทุกรายการจะต้องมีการลงรายการที่สอดคล้อง กับบรรณานุกรม

ใบความรู้ 3.1 แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต

ใบความรู้ 3.1 แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต

การใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงในการรับ ส่งสารสนเทศ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นความหมายของอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีผู้นิยมใช้มาก มีกาเนิดจากการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารในกิจการทหารของสหรัฐอเมริกา (ยืน ภู่วรวรรณ. 2546 : 180-182) อินเทอร์เน็ตมีลักษณะคล้ายกับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือห้องสมุดของโลก มีบริการสืบค้นสารสนเทศโดยการโอนย้ายสารสนเทศจากเซิร์ฟเวอร์ มายังเครื่องที่ใช้บริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล กลุ่มข่าวที่น่าสนใจ บริการค้นหาข้อมูล และแฟ้มข้อมูล บริการอินเทอร์เน็ต ต้องใช้รหัสยูอาร์แอล เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับระบบอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า http:// มีความหมายแสดงถึงการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลด้วยระบบโต้ตอบแบบ เอชทีทีพี สามารถรับ ส่งสารสนเทศได้ตรง และรวดเร็ว ด้วยการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งาน กับเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่มีสารสนเทศ เมื่อไม่ทราบรหัสยูอาร์แอล ของเรื่องที่จะค้น ควรใช้ เครื่องช่วยค้นรวบรวมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ 

มีขั้นตอนการสืบค้นดังนี้ 
1. กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นให้ชัดเจน 
2. แยกเรื่องที่ต้องการค้นให้เป็นหัวข้อย่อย 
3. กาหนดคำค้น ให้ตรงกับหัวข้อเรื่องที่ต้องการ 
4. การเชื่อมคำ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำ

ใบความรู้ที่ 2.2 หลักการเขียนสมมุติฐาน

ใบความรู้ที่ 2.2
หลักการเขียนสมมุติฐาน
สมมุติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
           1. จุดมุ่งหมาย สอดคล้องกับสมมุติฐาน และผลของการศึกษาค้นคว้า
           2. สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ
           3. ใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม
           4. สมเหตุสมผล โดยตั้งมาจากหลักของเหตุผล ตามทฤษฏี และผลการศึกษาค้นคว้า ที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา
หลักการเขียนสมมุติฐาน
           1. ใช้ข้อความที่เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
           2. เขียนสมมุติฐานหลังจากได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนแล้ว
           3. โดยทั่วไปจะตั้งสมมุติฐานก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่มีการศึกษาค้นคว้า บางประเภท เช่น การศึกษาค้นคว้าเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ อาจไม่จาเป็นต้องตั้งสมมุติฐานก่อน แต่อาจเริ่มจากการสังเกต รวบรวมข้อมูล แล้วตั้งสมมุติฐานจากข้อมูลที่ค้นพบก็ได้
           4. เขียนสมมุติฐานที่สามารถทดสอบได้จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมา
           5. กรณีมีหลายประเด็นควรแยกสมมุติฐานออกเป็นรายข้อ ซึ่งในการศึกษาค้นคว้าครั้งนั้นจะทำการทดสอบเป็นรายข้อ
ตัวอย่างสมมุติฐาน
           1. นักเรียนที่ดื่มนมจะเติบโตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ดื่มนม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 39)
           2. เกษตรกรที่รวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งทางสังคม และเศรษฐกิจ มากกว่าเกษตรกร ที่ไม่รวมกลุ่ม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 36)
           3. ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 37)

           4. หลังจากใช้โปรแกรมค่ายโรงเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ นักเรียนกลุ่มทดลองปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้สูงกว่าก่อนการทดลอง (วาสนา ฤทธิสิทธิ์. 2552 : 63)

ใบความรู้ที่ 2.1 การตั้งสมมุติฐาน

ใบความรู้ที่ 2.1
การตั้งสมมุติฐาน

           การตั้งสมมุติฐาน คือ ข้อคิดเห็น หรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย เรียกว่า สมมุติฐาน (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 1127) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยการเริ่มต้นจากการตั้งประเด็นปัญหา จากนั้นจะศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อคาดคะเนคาตอบของปัญหานั้นสมมุติฐาน ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
           สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า เป็นคำตอบสรุปของผลการศึกษาที่ผู้ศึกษาค้นคว้าคาดคะเน หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล คำตอบดังกล่าวได้มาจากการไตร่ตรองโดยใช้เหตุผลที่น่าจะเป็นให้มากที่สุด โดยมีรากฐานของทฤษฏี ผลการศึกษาค้นคว้า หรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 34) ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้ามั่นใจว่าผลการศึกษาค้นคว้าจะตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แต่ผลการศึกษาค้นคว้าจริงอาจจะตรง หรือไม่ตรงกับสมมุติฐานก็ได้ สิ่งสำคัญ คือ ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องอธิบายได้ว่าผลการศึกษาค้นคว้าเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด
           สมมุติฐานแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้ (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 38)
           1. สมมุติฐานทางสถิติ กำหนดขึ้นก่อนการทดลอง เป็นสมมุติฐานที่กำหนดเมื่อไม่รู้ว่ามีให้กำหนดในเบื้องต้นว่าไม่มีเช่น ไม่มีความแตกต่าง ไม่มีความสัมพันธ์ เป็นต้น
           2. สมมุติฐานทางเลือก ในการศึกษาค้นคว้าให้ตั้งสมมุติฐานทางเลือกเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการสรุปผล ถ้าหากผลการทดสอบทางสถิติชี้ว่าไม่จริงแล้วยอมรับเช่น มีความแตกต่าง มีความสัมพันธ์ เป็นต้น
           ประโยชน์ของสมมุติฐาน
           1. ใช้ตรวจสอบผลการศึกษาค้นคว้าได้
           2. จากัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าให้ดาเนินไปตามวัตถุประสงค์
           3. ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่ศึกษาค้นคว้าได้ชัดเจน


รายการอ้างอิง
จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกุล. (2551). คัมภีร์การวิจัย และการเผยแพร่สู่นานาชาติ.
           พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542. กรุงเทพฯ :

           นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.

ใบความรู้ที่ 1.2 วัสดุสารสนเทศ

ใบความรู้ที่ 1.2
วัสดุสารสนเทศ

           วัสดุสารสนเทศ คือ สื่อที่บันทึกข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ซึ่งแบ่งตามสิ่งที่ใช้บันทึก ได้เป็น 3 ประเภท คือ วัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วัสดุตีพิมพ์ คือ กระดาษที่พิมพ์ข้อความเพื่อใช้ประกอบการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้
           1. หนังสือ เป็นเรื่องราวความรู้ของคนที่เรียบเรียงแล้วจัดพิมพ์ไว้อ่านมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
               1.1 ส่วนปก มีใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบยึดปก และใบรองปก
               1.2 ส่วนต้น มีหน้าปกใน คานา สารบัญ เป็นต้น
               1.3 ส่วนเนื้อหา
               1.4 ส่วนท้าย มีบรรณานุกรม ภาคผนวก ดัชนี และอภิธานศัพท์
           2. วารสาร หรือนิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออกติดต่อกันเป็นประจาภายใต้ ชื่อเรื่องเดิม เรียงลำดับเนื้อหาตามที่แจ้งไว้ในสารบัญ
           3. หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมักออกเป็นรายวัน เพื่อเสนอข่าว เหตุการณ์ ที่น่าสนใจ
           4. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีความยาวไม่มาก

           5. กฤตภาค เป็นการรวบรวมเรื่องจากสิ่งพิมพ์ นำมาจัดเก็บเป็นระบบ วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นวัสดุที่สามารถมองเห็น (ทัศนวัสดุ) หรือฟัง (โสตวัสดุ) หรือทั้งมองเห็น และฟัง (โสตทัศนวัสดุ) ได้โดยตรง หรือต้องอาศัยเครื่องมือนำเสนอข้อมูล เช่น รายการวิทยุ รูปภาพ หุ่นจาลอง รายการโทรทัศน์ ไมโครฟิล์ม เป็นต้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นสื่อประสมของข้อมูล ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นซอฟ์แวร์ทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ทำกิจกรรมตอบสนองร่วมกับสื่อได้โดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น สื่อการเรียนบนอินเทอร์เน็ต หรืออีเลิร์นนิ่ง หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ บอกรับเป็นสมาชิกได้ทางซีดีรอม ฐานข้อมูล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ใบความรู้ 1.1 การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า

บความรู้ที่ ๑.
การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า

           สิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษาค้นคว้า คือ การเลือกเรื่องเพื่อตั้งประเด็นปัญหา เพราะถ้าเลือกเรื่องเหมาะสมจะมีอุปสรรคน้อย ช่วยให้งานสำเร็จได้ด้วยดี การเลือกเรื่องตั้งประเด็นปัญหาจึงต้องทำอย่างละเอียด รอบคอบ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
           1. เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความสนใจอย่างแท้จริง และมีประโยชน์ต่อคนในสังคมโลก เพราะต้องใช้ความพากเพียร อดทน ตั้งใจศึกษาค้นคว้าจึงจะสำเร็จได้
           2. ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความสามารถในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า สอดคล้องกับพื้นฐาน ประสบการณ์ และต้องมั่นใจว่าตนมีศักยภาพในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนั้น
           3. เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีทุนเป็นค่าใช้จ่ายเพียงพอ ควรทำประมาณการค่าใช้จ่าย เป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าเดินทางเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าพิมพ์รายงาน และอื่นๆ
           4. มีแหล่งการเรียนรู้สาหรับศึกษาค้นคว้าเพียงพอ อาจจะเป็นวัสดุสารสนเทศในห้องสมุด ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ต สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง
           5. สามารถขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้า ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ผู้ช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
           การนิยามปัญหา คือ การอธิบายปัญหาที่จะทาการศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน ประกอบด้วยบทนำ หรือความเป็นมา จุดมุ่งหมาย สมมุติฐาน เป็นต้น
           บทนำ หรือความเป็นมา เป็นการกล่าวถึงที่มาของปัญหาที่จะศึกษาค้นคว้า แสดงให้เห็นว่าปัญหา คืออะไร เหตุใดจึงต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น อาจอ้างทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือข้อเขียนที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
          การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย เขียนให้ครอบคลุมประเด็นปัญหา เขียนแยกเป็นรายข้อ หรือไม่แยกข้อก็ได